วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน


เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน


1.อัตลักษณ์ของหมู่บ้าน (ลักษณะเด่น)
    -หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ และอนุรักษ์ดนตรีพื้นเมือง
2.การกำหนดตำแหน่งการพัฒนาของหมู่บ้าน
   -หมู่บ้านกษตรกรรมปลอดสารพิษ
   -หมู่บ้านอนุรักษ์ดนตรีพื้นเมือง
3.เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาของหมู่บ้าน
เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้าน 
  -หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ   
  -ส่งเริมดนตรีพื้นเมือง    

แนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน    
 - รวมกลุ่มประชาชนในชุมชน ทำปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดรณรงค์ แนะนำให้เกษตรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เพื่อลดสารพิษตกค้างในพืชไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค                                                    -     สนับสนุนดนตรีพื้นเมืองดีที่มีอยู่แล้วในชุมชนให้มีการพัฒนาและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นที่ยอมรับของคนในตำบลอื่น                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                             

                                                                

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อมูลสภาพปัญหาของหมู่บ้าน

ข้อมูลสภาพปัญหาของหมู่บ้าน

สภาพจากข้อมูล จปฐ. ปี 2555

1.คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่                                                                               จำนวน  73  คน
2.คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา(ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราวฯ)                                 จำนวน  14  คน
3.คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่าคนละ 30000                                    จำนวน   5   ครัวเรือน
4.คนอายุ 15-60 ปีเต็ม อ่าน เขียนภาษาไทย และเขียนเลขอย่างง่ายได้           จำนวน   5 คน
5.คนในครัวเรือนมีการใช้ยาเพื่อบำบัด  บรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น            จำนวน   5   ครัวเรือน
อย่างเหมาะสม
6.ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ                                                                   จำนวน  4   ครัวเรือน
7.ทุกคนในครัวเรือนกินอาหารถูกสุขลักษณะ  ปลอดภัยและได้มาตรฐาน         จำนวน  3 ครัวเรือน
8.ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน                                                                             จำนวน   3 ครัวเรือน
9.เด็กจบชั้น ม.3 ได้เรียนต่อชั้น ม.4 หรือเทียบเท่า                                             จำนวน   2 คน

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บุญประจำปีของชาวบ้านก้านเหลืองดง

                                  ประเพณีบุญบั้งไฟ


ประวัติความเป็นมาของบุญบั้งไฟ

       ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ ช่วงเวลาของประเพณีบุญบั้งไฟคือเดือนหกหรือพฤษภาคมของทุกปี

ประเพณีบุญบั้งไฟ


ความเชื่อของชาวบ้านกับประพณีบุญบั้งไฟ
       ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกเทวดา มนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า “แถน” เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากทำให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน นอกจากนี้ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่งคือ เรื่องพญาคันคาก หรือคางคก พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้วให้พญาแถนบันดาลฝนลงมาตกยังโลกมนุษย์

งานแห่บั้งไฟ ประเพณีบุญบั้งไฟ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ลักษณะการปกครองหมู่บ้าน

ลักษณะการปกครองหมู่บ้าน

บ้านก้านเหลืองดง แบ่งการปกครองออกป็น 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 มีนายเรืองศรี เชื้อวังคำ เป็นผู้ใหญ่
หมู่ที่ 4 มีนายบัวลี  ไชยบัน เป็นผู้ใหญ่บ้าน และหมู่ที่ 5 มีนายวิรัส ไชยบัน โดยประกาศเป็นหมู่บ้าน อฟป.ทั้ง 3 หมู่บ้าน มีคณะกรรมการกลางหมู่บ้าน อพป.ดำเนินการในการพัฒนา โดยอาศัยลักษณะทางสังคม การตั้งบ้านเรือนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวคือ  ได้จัดแบ่งออกเป็นคุ้มแต่ละคุ้มตั้งอยู่ติดต่อกัน และมีจำนวนครัวเรือนแตกต่างกันออกไป คือ
1.คุ้มมิตรภาพ  มี 10 ครัวเรือน ประชากร 59 คน       
2.คุ้มตะวันลับฟ้า  มี 14 ครัวเรือน ประชากร  104 คน
      3.คุ้มสำราญใจพัฒนา  มี 18 ครัวเรือน ประชากร 109 คน
4.คุ้มร่วมใจพัฒนา  มี 11 ครัวเรือน ประชากร 71 คน
5.คุัมราษฏรพัฒนา  มี 17 ครัวเรือน  ประชากร 110 คน

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สภาพทั่วไปของหมู่บ้านก่อนการพัฒนา

สภาพทั่วไปของหมู่บ้านก่อนการพัฒนา

1.สภาพการคมนาคมและการคนส่ง
-ทำเลที่ตั้งของหมู่บ้านก้านเหลืองดงแห่งนี้ เป็นหมู่บ้านที่เส้นทางคมนาคมตัดผ่านสัญจรไปมาระหว่างอำเภอดงหลวง กับอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหรา และอำเภอเขาวง จังหวัดก่ฬสินธุ์ การคมนาคม เป็นถนนยางตลอดสาย การคมนาคมสะดวก สำหรับการเดินทางติดต่อกันภายในตำบล หมู่บ้าน โดยทางบกตลอดฤดูกาล
2.สภาพเศรษฐกิจ            
-ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบชีพ ทำนา อาศัยน้ำฝนอย่างเดียว ปีใดฝนไม่ตกต้องตามฟดูกาล ฝนทิ้งช่วงนาข้าวจะได้รับความเสียหาย ไม่มีปัจจัยอื่นที่จะเอื้ออำนวยที่จะปลูกพืชทดแทนได้
3.สภาพทางสังคม          
-ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวภูไท เชื้อสายไทยอีสาน พูดภาษาไทย มีขนมธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเองมีการทำประเพณีคล้ายชาวทยอีสานทั่วไป เช่น บุญกฐิน บุญกองข้าว บุญผ้าป่า บุญมหาชาติ บุญตามเทศกาลต่างๆ
4.สภาพด้านสาธารณสุข
-ยังมีความยึดอยู่กับความเชื่อเก่าๆ โดยนำสัตว์เลี้ยงไว้ใต้ถุนบ้านเพื่อดูแลรักษาได้ง่าย รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ เจ็บป่วยซื้อยามารับประทานเอง มารดาก่อนและหลังคลอดบุตรจะไม่นิยมรับประทานอาหารที่มีโปรตีนมากเชื่อว่าจะทำให้คลอดบุตรยาก และเกิดอาการแพ้ จึงส่งผลกะทบให้เด็ดขาดสารอาหาร มีโรคัยเบียดเบียนสุขภาพไม่แข็งแรง
5.ด้านการศึกษา
-เนื่องจากหมู่บ้านก้านเหลืองดง เป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ถึงแม้ว่าการสัญจรไปมาได้สะดวก แต่สภาพปัญหาความยากจนของชาวบ้าน จึงไม่ค่อยจะนิยมส่งบุตรหลานเข้าไปเรียนหนังสือ ระดับมัธยมเท่าที่ควร ทำให้ขาดบุคคลากรในท้องที่ ที่มีความรู้ความสามารถที่จะเป็นผู้ำเปลี่ยนแปลงงหมู่บ้านได้
      

         

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กองทุน/กลุ่มอาชีพที่มีการจัดตั้งในหมู่บ้าน

กองทุน/กลุ่มอาชีพที่มีการจัดตั้งในหมู่บ้าน

1.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง             เงินทุน 100000 บาท  สมาชิก  169 คน
  2.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร              เงินทุน 1176993 บาท  สมาชิก  60 คน   
3.กลุ่มจักสาน                                           เงินทุน 10000 บาท   สมาชิก  7 คน    
4.กลุ่มเลี้ยงเป็ด                                       เงินทุน 60000 บาท  สมาชิก  40 คน  
     5.ศุนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน               เงินทุน   3500 บาท สมาชิก 240 คน      
 6.กลุ่มดนตรีพื้นเมือง                                เงินทุน 2200 บาท  สมาชิก  27 คน  
                    7.กลุ่มเลี้ยงวัว                                            เงินทุน 100000 บาท  สมาชิก  25 คน